ผู้เขียน หัวข้อ: 2009 The Message [ไป๋เสี่ยวเหนียน]  (อ่าน 32540 ครั้ง)

prattana

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4549
    • ดูรายละเอียด
Re: 2009 The Message
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2010, 05:52:44 PM »











prattana

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4549
    • ดูรายละเอียด
Re: 2009 The Message
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2010, 05:55:18 PM »




prattana

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4549
    • ดูรายละเอียด
Re: 2009 The Message
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2010, 05:57:24 PM »



prattana

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4549
    • ดูรายละเอียด
Re: 2009 The Message
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 07:24:11 AM »

prattana

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4549
    • ดูรายละเอียด
Re: 2009 The Message
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 07:25:09 AM »








prattana

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4549
    • ดูรายละเอียด
Re: 2009 The Message
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 07:25:54 AM »








prattana

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4549
    • ดูรายละเอียด
Re: 2009 The Message
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 07:26:36 AM »




prattana

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4549
    • ดูรายละเอียด
Re: 2009 The Message
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 07:27:21 AM »

prattana

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4549
    • ดูรายละเอียด
Re: 2009 The Message
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 07:28:19 AM »






prattana

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4549
    • ดูรายละเอียด
Re: 2009 The Message
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 07:29:21 AM »






prattana

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4549
    • ดูรายละเอียด
Re: 2009 The Message
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 07:30:03 AM »



prattana

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4549
    • ดูรายละเอียด
Re: 2009 The Message
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 07:30:58 AM »


ทุกคนคงสงสัยว่า อุปรากรณ์จีนหรืองิ้ว มันเป็นแบบไหน วันนี้ก็เลยเอาความหมายมาฝากค่ะ

Thanks, http://www.ranthong.com/smf/index.php?topic=10661.10;wap2

อุปรากรณ์จีนหรือที่เรียกกันว่างิ้ว

อ้างจาก: Mad Dog ที่ 14 พฤศจิกายน 2006, 14:50:33

บันทึกวัฒนธรรม: อุปรากรจีน หรือ "งิ้ว" ...หนึ่งภาพสะท้อนของวัฒนธรรมจีนในเมืองไทย
โดย ณัตตินา

“งิ้ว” เป็นศิลปะการแสดงที่เกิดขึ้นมานาน 5,000 ปี เริ่มต้นจากช่วงรัชสมัยราชวงศ์จิว ซึ่งมีการผสมผสานการขับร้องและการเจรจาประกอบกับลีลาท่าทางของนักแสดงให้ออกเป็นเรื่องเป็นราว โดยนำเหตุการณ์ต่างๆ ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงเป็นบทแสดง นอกเหนือไปจากพงศาวดารและประวัติศาสตร์แล้ว เรื่องของความเชื่อ ประเพณี และศาสนาก็เป็นสิ่งที่ผสมผสานอยู่ในการแสดง “งิ้ว” ด้วยเช่นกัน ในยุคสมัยนั้นยังไม่มีแบบฉบับโดยเฉพาะ จึงมีผู้แสดงเพียงไม่กี่คน และมีการแสดงเป็นเรื่องสั้นๆ

วิวัฒนาการของ “งิ้ว”มีอยู่ตลอดเวลาและเจริญรุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายราชวงศ์ชิง เพราะมีการแสดงงิ้วกันอย่างแพร่หลายทั่วประเทศจีน และในสมัยของพระนางซูสีไทเฮา ก็เป็นอีกยุคหนึ่งที่การแสดง “งิ้ว”รุ่งเรืองถึงขีดสุดส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะพระนางซูสีไทเฮาทรงโปรดปรานการแสดงงิ้วมาก จึงทำให้มีผู้อุปถัมภ์และมีผู้นิยม “งิ้ว”มากขึ้น

แต่แล้ว “งิ้ว”ก็มีอันต้องลดบทบาทลง ภายหลังจากที่พระนางซูสีไทเฮาและพระเจ้ากวงสูสวรรคต เพราะแต่เดิมนั้นการแสดงงิ้วจะเป็นมหรสพที่หาชมได้เพียงในพระราชวัง หรือ ในตระกูลของผู้สูงศักดิ์เท่านั้น เมื่อการสนับสนุนของงิ้วในราชวงศ์ลดลงบรรดาคณะงิ้วต่างๆจึงต้องออกมาแสดงตามสถานที่ต่างๆเพื่อหารายได้เลี้ยงชีพ และถือเป็นก้าวแรกที่การแสดงงิ้วได้รับการถ่ายทอดออกมาสู่สามัญชนจนเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป และสุดท้ายก็ได้แพร่ขยายออกไปสู่ประเทศต่างๆทั่วโลก

สำหรับเมืองไทยนั้นมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกว่าคนไทยเรารู้จัก “งิ้ว”มาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา นั่นคือ บันทึกรายวันของบาทหลวง เดอ ชัวสี ในคราวที่ติดตามมองซิเออร์ เลอ เชอวาเลีย เดอโชมองต์ เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยในสมัยพระนารายณ์ และบันทึกของลาลูแบร์ทูตชาวฝรั่งเศสที่เรียกการแสดงชนิดนี้ว่า “Comedie a la chinoife”และ “A ChinefeComedy”ซึ่งมีความหมายโดยรวมว่า “ละครจีน”

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่มีหลักฐานใดที่บ่งบอกถึงที่มาของชื่อการแสดง “งิ้ว”อย่างแน่ชัด จนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีซึ่งเป็นยุคที่มีชาวจีนอพยพมาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทยมากขึ้น ชื่อเรียกของการแสดงว่า “งิ้ว”นั้นเกิดขึ้นในสมัยของพระเจ้ากรุงธนบุรี ดังในหลักฐานเมื่อครั้งที่พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯให้จัดขบวนแห่อย่างยิ่งใหญ่ เพื่ออัญเชิญพระแก้วมรกตซึ่งล้นเกล้ารัชกาลที่ 1ทรงยกทัพไปตีเวียงจันทน์และทรงอัญเชิญลงมาด้วย ซึ่งในขบวนแห่นอกจากจะมีโขน ละคร ดนตรีปี่พาทย์ แล้ว ยังมีหมายรับสั่งให้มี”งิ้ว”ไปแสดงในเรือด้วย โดยมีข้อความว่า “งิ้วลงสามป้าน พระยาราชาเศรษฐีหนึ่ง หลวงรักษาสมบัติหนึ่ง”รวมมี “งิ้ว” ด้วยกันถึง 2 ลำ

ประเภทของงิ้วที่แสดงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ งิ้วหลวงกับ งิ้วท้องถิ่น

งิ้วหลวงคือ งิ้วประจำชาติของประเทศจีน เรียกกันว่า จิงจวี้หรือ กั๋วจวี้ ซึ่งจะเป็นงิ้วที่มีมาตรฐาน และเน้นความถูกต้องในศิลปะการแสดงของตัวละครทุกๆตัว ไม่ว่าจะเป็นลีลาการร่ายรำ ท่วงทำนอง เสียงดนตรีประกอบเรื่อยไปจนถึงการแต่งกายและการแต่งหน้าของตัวละคร ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวนี้เองที่เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงการแต่งกาย วัฒนธรรมจารีตประเพณีดั้งเดิมของชาวจีนในยุคโบราณได้อย่างชัดเจน

งิ้วท้องถิ่น คืองิ้วที่เจริญขึ้นในมณฑลหรือเขตหนึ่งๆ โดยมีวิวัฒนาการจากการละเล่นพื้นเมืองในท้องถิ่นนั้น ภาษาที่ร้องก็จะเป็นภาษาถิ่น จึงมีชื่อเรียกต่างๆกันออกไป เช่น งิ้วแต้จิ๋วงิ้วฮกเกี้ยน งิ้วกวางตุ้ง งิ้วไหหลำเป็นต้น แบบแผนของงิ้วท้องถิ่นจึงดูไม่เคร่งครัดสักเท่าไหร่นัก แตกต่างไปจากงิ้วหลวง

ความโดดเด่นของการแสดงงิ้ว นอกจากลีลาการร่ายรำและการเคลื่อนไหวของผู้แสดงแล้วเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายตลอดจนการแต่งหน้าก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งการแต่งกายของตัวละครจะบ่งบอกถึงบทบาทของตัวแสดง ไม่ว่าจะเป็นหมวก เสื้อผ้า เข็มขัด รองเท้า สีสันของเสื้อผ้า เครื่องประดับ ตลอดจนลวดลายที่ปักอยู่บนเสื้อแต่ละตัวสามารถทำให้ผู้ชมรู้ถึงลำดับยศฐาบรรดาศักดิ์ ขุนนางฝ่ายบุ๋นขุนนางฝ่ายบู๊ คหบดี หรือสามัญชนได้ชัดเจน

ส่วนสีสันของการแต่งหน้าที่ต่างกันจะบ่งบอกถึงบุคลิกและอุปนิสัยของตัวละครเป็นอย่างดีโดยสีต่างๆนั้นจะมีความหมายแฝงอยู่ เช่น สีแดง แสดงถึงความจงรักภักดี สีม่วงแสดงถึงความเป็นคนหนักแน่น มีใจเด็ดเดี่ยวสีดำแสดงถึงความเป็นคนป่าเถื่อน สีน้ำเงินและสีเขียวแสดงถึงความเป็นคนใจร้าย มุทะลุ สีเหลืองแสดงถึงความกล้าหาญ แน่วแน่ สีขาวมันแสดงถึงความเป็นคนเจ้าเล่ห์ สีชมพูขาวแสดงถึงความเป็นคนใจอำมหิตและชั่วร้ายมากสีอิฐหรือแดงเข้ม แสดงถึงผู้สูงอายุ สีทองและสีเงินมักเป็นสีที่ใช้แต่งหน้าเทพ นักพรต หรือปีศาจที่มีเวทมนตร์คาถา สีเขียวอ่อนใช้แต่งหน้าพวกตัวปีศาจฯลฯ

ถือได้ว่า “งิ้ว”นั้นเป็นสิ่งที่สามารถสะท้อนวัฒนธรรมประเพณีรูปแบบหนึ่งของจีนได้อย่างเด่นชัด และมีความสำคัญเกี่ยวเนื่องอยู่กับความเชื่อของผู้คนชาวจีนอยู่ไม่น้อยเพราะไม่ว่าจะเป็นสถานที่แห่งใดที่มีชาวจีนมาตั้งถิ่นฐานอยู่ ก็มักจะมีการแสดงงิ้วอยู่เสมอเมื่อมีเทศกาลหรืองานประเพณีสำคัญๆ เช่น งานฉลอง ศาลเจ้า งานฉลองวันสารทเดือน 7งานฉลองวันเทศกาลกินเจ เดือน9 งานฉลองแก้บน ฯลฯ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะถือว่าเป็นการตอบแทนคุณเจ้าที่คอยดูแลให้คนในท้องถิ่นนั้นอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีทุกข์ภัยไข้-เจ็บ

เมืองไทยการแสดงงิ้วได้รับความนิยมสูงสุดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยมีคณะงิ้วของทั้งคนไทยและคนจีน นอกจากนั้นยังมีการเป”ดโรงเรียนสอนงิ้ว และมีโรงงิ้วเป”ดแสดงเป็นประจำมากมายบนถนนเยาวราช แต่เมื่อมีความบันเทิงในรูปแบบอื่นตามแบบวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามากขึ้น ความนิยมในการชมงิ้วก็ลดลงไปด้วย โรงงิ้วที่เคยมีมากมายในเยาวราชก็ถูกปรับเปลี่ยนไปเหลือเพียงเค้าโครงรูปแบบของโรงงิ้วแบบเดิม กับคำบอกเล่าจากผู้คนในย่านนั้นว่าครั้งหนึ่งที่แห่งนั้นเคยเป็นโรงงิ้วมาก่อน

มาถึงทุกวันนี้การแสดงงิ้วในเยาวราชก็ได้เลือนหายไปแล้ว จะมีให้เห็นบ้างก็ตามศาลเจ้าและในเทศกาลสำคัญๆ ส่วนหนึ่งก็เพราะความเจริญทางเทคโนโลยี ตลอดจนเรื่องของภาษาที่ใช้เพราะเป็นภาษาจีนท้องถิ่นที่คงมีผู้ชมน้อยคนนักที่สามารถเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ นอกจากนั้นก็ยังมีปัจจัยอื่นๆรวมอยู่ด้วย เช่น อัตราว่าจ้างคณะงิ้วมาแสดงนั้นมีราคาค่อนข้างสูงกว่ามหรสพประเภทอื่นๆและการขอใบอนุญาตเล่นงิ้วประจำปีนั้นค่อนข้างจะยุ่งยากทั้งหมดจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ “งิ้ว”ในเมืองไทยค่อยๆเลือนหายไปจากความรู้สึกของคนทั่วๆไป

แม้ว่าการแสดง “งิ้ว”แบบดั้งเดิมจะหาชมได้ยากในยุคสมัยนี้แต่อย่างน้อยก็ยังมีคณะงิ้วบางคณะหลงเหลืออยู่พอให้เราได้ชมการแสดงอยู่บ้าง แม้ว่าจะถูกลดบทบาทลงเป็นเพียงการแสดงคู่กับศาลเจ้าก็ตามที แต่นั่นก็คือหนึ่งภาพสะท้อนที่ทำให้เราเห็นถึงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของชาวจีนกับชาวไทยที่มีมาเนิ่นนานนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน !

หมายเหตุ :ข้อมูลจากหนังสือความเป็นมาของงิ้ว อาจารย์ถาวรสิกขโกศล อุปรากรจีน (งิ้ว) ดร.มาลินี ดิลกวาณิช งิ้วกับศิลปะการแต่งหน้า พรพรรณ จันทโรพานนท์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

prattana

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4549
    • ดูรายละเอียด
Re: 2009 The Message
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 07:32:39 AM »








prattana

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4549
    • ดูรายละเอียด
Re: 2009 The Message
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 07:34:16 AM »






prattana

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4549
    • ดูรายละเอียด
Re: 2009 The Message
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 07:37:17 AM »





prattana

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4549
    • ดูรายละเอียด
Re: 2009 The Message
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 07:38:09 AM »






prattana

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4549
    • ดูรายละเอียด
Re: 2009 The Message
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2010, 05:19:45 PM »

Alec Love Me

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13954
    • ดูรายละเอียด
Re: 2009 The Message
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: กันยายน 14, 2011, 12:27:52 PM »

Alec Love Me

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13954
    • ดูรายละเอียด
Re: 2009 The Message
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2014, 10:32:12 AM »
<a href="http://www.youtube.com/v/?v=7UMeiuMZIvg&amp;app=desktop" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/?v=7UMeiuMZIvg&amp;app=desktop</a>

prattana

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4549
    • ดูรายละเอียด
Re: 2009 The Message
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2014, 12:44:39 PM »
<a href="http://www.youtube.com/v/?v=5UcoR58qPYA" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/?v=5UcoR58qPYA</a>

Ming Tian (Tomorrow)